สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก ครูต้นไผ่ดอทคอม ทุกท่านครับ วันนี้พบกับ ครูต้นไผ่ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู (วิทยฐานะ ครูชำนาญการ) ทุกสังกัด ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำศึกษาและนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู (วิทยฐานะ ครูชำนาญการ) ทุกสังกัด ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์ แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู (วิทยฐานะ ครูชำนาญการ) ทุกสังกัด ตามรายละเอียดดังนี้ ครับ

ดาวน์โหลดฟรี แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู (วิทยฐานะ ครูชำนาญการ) ทุกสังกัด ไฟล์ เวิร์ด แก้ไขได้

ดาวน์โหลดฟรี แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู (วิทยฐานะ ครูชำนาญการ) ทุกสังกัด ไฟล์ เวิร์ด แก้ไขได้


รายละเอียด แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู (วิทยฐานะ ครูชำนาญการ) ทุกสังกัด

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

(ทุกสังกัด)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ระหว่างวันที่  1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566   ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2567

ผู้จัดทำข้อตกลง

ชื่อ   นางสาวสุวรินทร์      นามสกุล   ฉัตรพงค์สกุล     ตำแหน่ง  ครู

สถานศึกษา  โรงเรียนบ้านคลองชะนี   สังกัด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2

รับเงินเดือนในอันดับ ค.ศ. …….    อัตราเงินเดือน  ……………………..  บาท

ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการจัดการเรียนรู้จริง)

ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน

ห้องเรียนปฐมวัย

ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ

ห้องเรียนสายวิชาชีพ

ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง   

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

      ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566                

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ในระดับ อนุบาลปที่ 2 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน…..20 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์ ดังนี้

– กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 30 นาที/วัน      จำนวน  2 ชั่วโมง 30 นาที /สัปดาห์

– กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 1ชั่วโมง 20 นาที/วัน (รวมนอนพักผ่อน) จำนวน  6 ชั่วโมง             

  40 นาที /สัปดาห์

– กิจกรรมสร้างสรรค์ 40 นาที/วัน                    จำนวน  3 ชั่วโมง 20 นาที /สัปดาห์

– กิจกรรมเสรี  30 นาที/วัน                            จำนวน  2 ชั่วโมง 30 นาที /สัปดาห์

– กิจกรรมกลางแจ้ง 40 นาที/วัน                      จำนวน  3 ชั่วโมง 20 นาที /สัปดาห์

– กิจกรรมเกมการศึกษา 30 นาที/วัน                จำนวน  2 ชั่วโมง 30 นาที /สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน……5….ชั่วโมง/สัปดาห์

– การจัดทำแผนการการจัดประสบการณ์                      จํานวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์                                                   – การวัดและประเมินผลการจัดประสบการณ์          จํานวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์                                          – การประเมินพัฒนาการเด็ก                             จํานวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์                                  – การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน            จํานวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์                                     

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน  4   ชั่วโมง/สัปดาห์

          – งานวิชาการระดับปฐมวัย                            จำนวน  2 ชั่วโมง/สัปดาห์

          – งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา                     จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์

          – ครูเวรประจำวัน                                        จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์                   

           1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น    จำนวน  1   ชั่วโมง/สัปดาห์

          – โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู (ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้านว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้)

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่งงาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลงใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ)ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ)ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนา มากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น(โปรดระบุ)
1. ด้านการจัดการเรียนรู้             ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง   1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร                   1.จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาการศึกษา ปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ฉบับปรับปรุงประจำปี ๒๕๖5 ปรับปรุงหลักสูตรให้เข้าใจง่าย และยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ในการเรียนการสอน ได้นำหลักสูตรมายืดหยุ่นกับการเรียนการสอนมากขึ้น และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และวิเคราะห์หลักสูตร ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา และนำไปจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ตามหน่วยให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น 2.ปรับประยุกต์หลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานสถานศึกษา ผู้เรียน ท้องถิ่น และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง  1. เด็กปฐมวัยได้รับ การพัฒนารอบด้านทั้ง 4 ด้าน ตามหลักสูตร สถานศึกษากำหนด 2. มีแผนการจัดประสบการณ์ มีกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับปฐมวัย ที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน ท้องถิ่น และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์– เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 มีผลการพัฒนาคุณภาพเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด – เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2  ร้อยละ 75 มีผลประเมินพัฒนาการอยู่ในระดับดี ทุกด้าน และมีผลการประเมินคุณภาพพัฒนาการตามมาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์และตัวบ่งชี้อยู่ในระดับ ดีทุกด้าน  
1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้        1.ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ท้องถิ่นและเหมาะสมกับผู้เรียน 2.จัดทำกำหนดการสอนระดับชั้นอนุบาล 2 3.มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 4.ประเมินผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น 5.วิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้เพื่อออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และจัดทำแผนการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการกิจกรรมเกม การศึกษาที่เน้นทักษะพื้นฐานด้านการคิด  -เด็กได้เรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้และตรงตามจุดประสงค์ของอนุบาล 2 -มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ – เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ได้เรียนรู้ ตามหน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งได้รับการจัด กิจกรรมเกมการศึกษา ที่เน้นทักษะพื้นฐานด้านการคิด– เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2  ร้อยละ 75 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ -ผู้เรียน ร้อยละ 75 มีทักษะพื้นฐานด้านการคิด
1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้                   1.วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล 2.จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับ การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ธรรมชาติของผู้เรียน และบริบทของสถานศึกษา และท้องถิ่นที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามรูปแบบที่ต้นสังกัดกำหนดและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และสื่อจากของจริงให้มากที่สุดครูเน้นเรียนอย่างมีความสุข เน้นเด็กเป็นสำคัญ 3.มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สร้างสรรค์อย่างหลากหลาย และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4.มีบันทึกหลังการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และนำผลมาปรับประยุกต์แผนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพสูงขึ้น 5.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง ใช้สื่อใกล้ตัวที่หลากหลาย โดยการมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน ใช้สถานการณ์เป็นฐาน ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 6.ดำเนินการตามโครงการระดับปฐมวัยที่ตอบสนองนโยบายและจุดเน้นที่ส่งผลต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของนักเรียน-มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สร้างสรรค์อย่างหลากหลาย และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียน และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง -เด็กมีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านดีขึ้นตามวัย และได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง ๆ มีความสุขในการทำกิจกรรม– เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2  ร้อยละ 75 มีความสนใจ และพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง   – เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 ได้รับการจัด ประสบการณ์ตาม ศักยภาพ
1.4 การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้      1.สร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับผู้เรียนสอดคล้องกับเนื้อหาสาระตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้ 2.ประเมินผลการใช้สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ และนำผลการประเมิน ไปปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น 3.การสร้างสื่อ กระดาษ , CAI , Live Worksheets และPTT คลิปการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ ผ่านแอฟพิเคชั่นต่าง ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน 4.ผลิตสื่อการจัดประสบการณ์อย่างหลากหลาย สอดคล้องกับหน่วยและแผนการจัดประสบการณ์ รวมทั้งมีการจัดทำเกมการศึกษาที่เน้นทักษะพื้นฐานด้านการคิด โดยมีการการแก้ไขปัญหา ปรับใช้ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน-มีสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลาย สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจ และกระตือรือร้นในการเรียน มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ -เด็กได้เรียนรู้ผ่านสื่อ นวัตกรรม และใบงาน แสดงผลงานออกมาทางใบงานได้ ได้ประโยชน์จากสื่อที่ใช้ทำกิจกรรม – เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ได้เรียนรู้ ผ่านสื่อการจัด ประสบการณ์อย่าง หลากหลายและได้รับ การจัดกิจกรรมเกม การศึกษาที่เน้นทักษะพื้นฐานด้านการคิด ที่สอดคล้องกับ ศักยภาพของผู้เรียน-ผู้เรียน ร้อยละ 75 มีความสนใจ และพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนรู้ และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ – เด็กร้อยละ 75พัฒนาการที่ดีขึ้นหลังจากใช้ สื่อการสอน ใบงานชิ้นงานตามหน่วยการเรียนรู้ -เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 ได้เรียนรู้ผ่านการ จัดกิจกรรมเกม การศึกษาที่เน้นทักษะพื้นฐานด้านการคิด
1.5 การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้      -สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด และประเมินผลที่หลากหลายเหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้ -มีการประเมินตามสภาพจริง การตรวจประเมินผลงาน, สอบถาม  สัมภาษณ์, สร้างแบบทดสอบเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย การใช้กล้ามเนื้อมือ -ใช้วิธีการที่หลากหลายและยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ เช่น ใช้วิธีการสังเกต การสอบถาม -สังเกตจากชิ้นงาน -บันทึกหลังการจัดประสบการณ์ในแต่ละสัปดาห์ -ใช้แบบสังเกตพฤติกรรม -ประเมินพัฒนาการเด็กจบหลักสูตรปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2 -สร้างแบบประเมินพัฒนาการที่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์และตัวบ่งชี้ รวมทั้งแบบประเมินทักษะพื้นฐานด้านการคิด-ผู้เรียนได้รับการวัด และประเมินผลพัฒนาการอย่างหลากหลายตามสภาพจริง สามารถนำผลการวัด และประเมินผลการจัดการจัดประสบการณ์ ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนให้ถึงขั้นสูงสุด -เด็กได้เรียนรู้ผ่านสื่อ นวัตกรรม และใบงาน แสดงผลงานออกมาทางใบงานได้ ได้ประโยชน์จากสื่อที่ใช้ทำกิจกรรม-เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล  ปีที่ 2 ร้อยละ 75 ได้รับการประเมินพัฒนาการ ตามสภาพจริง
1.6 การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์        เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้    1.ใช้กระบวนการวิจัย หรือดำเนินการวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้วิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการ 2.ศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อหา แนวทางแก้ปัญหาและจัดทำวิจัยในชั้นเรียน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์พัฒนาการด้านสติปัญญาที่เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานด้านการคิด 3.นำผลการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือผลการวิจัยไปใช้  -มีการใช้กระบวนการ วิจัยในชั้นเรียน เพื่อส่งเสริม และพัฒนาให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ -เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ได้รับ การแก้ปัญหาเป็น รายบุคคลโดย กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนและได้รับการ แก้ปัญหาทักษะพื้นฐานด้านการคิด-เด็กปฐมวัย              ชั้นอนุบาลปีที่ 2  ร้อยละ 75 ผ่านการประเมินตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ -เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 ได้รับการการแก้ปัญหาทักษะ ทักษะพื้นฐานด้านการคิด
1.7 การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน      -จัดบรรยากาศในการจัดประสบการณ์เอื้อต่อการเรียนรู้และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยมีการใช้สื่อ นวัตกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียนและเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง -การรักษามาตรการในช่วงโควิด 19 โดยให้ผู้ปกครองมาส่งหน้าโรงเรียน -เด็กทุกคนใส่หน้ากากอนามัย -ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ใช้กระติกน้ำส่วนตัว นั่งในชั้นเรียนโดนเว้นระยะห่าง -มีการทำป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในห้องเรียน มีสื่อความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด 19 มีการจัดตกแต่งห้องเรียนใหม่ให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น มีสื่อที่มีสีสันน่าสนใจ -ห้องเรียนสะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก -ไม่มีสิ่งของอันตราย เน้นความปลอดภัย -ครูรักเด็กและใส่ใจเด็ก ยิ้มแย้ม ไม่เคร่งครัดจนเกินไป แต่งกายสะอาดเรียบร้อยเหมาะกับสถานการณ์ เป็นแบบอย่างที่ดี-มีการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียน มีความสนใจ และกระตือรือร้นในการเรียน มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ – เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 มีส่วน ร่วมในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ และร่วมลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ผ่านสื่อ นวัตกรรม อย่างหลากหลาย ตามสถานการณ์ -เด็กมีความสุขสนุกสนานในการเล่นมุมต่าง ๆ ที่ครูจัดไว้ให้ เด็กรักษามาตรการในการป้องกันโควิด ได้ดีขึ้นมีความสุขในการทำกิจกรรม-เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 ได้เรียนรู้แบบมี ส่วนร่วมและร่วมลงมือ ปฏิบัติ ผ่านสื่อ นวัตกรรมต่าง ๆ ในบรรยากาศที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
1.8 การอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน      1.อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม 2.อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3.อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนรักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความเป็นไทย 4.อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5.มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามวัย มีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านที่เหมาะสมกับวัย เช่น เก็บของเข้าที่ได้เอง แบ่งปันเพื่อน เก็บขยะลงถัง ระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้ตามวัย เป็นต้น-เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย มีคุณธรรมและมีวินัยในตนเองได้เหมาะสมตามวัย -เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 มี คุณลักษณะอันพึง ประสงค์และสามารถ ประยุกต์ใช้และดำเนิน ชีวิตประจำวันได้อย่าง มีความสุข    -เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 มีคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษาและ สามารถประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวันได้
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่งงาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลงใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ)ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ)ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนา มากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น(โปรดระบุ)
2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน การจัดการเรียนรู้ ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง 2.1.การจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา1.จัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน 2.ใช้สารสนเทศในการเสริมสร้าง และพัฒนาผู้เรียน 3.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล จัดทำงานธุรการประจำชั้นเรียน เช่น แบบบันทึกการเข้าเรียนในชั้นเรียน แบบประเมินพัฒนาการ แบบประเมินชิ้นงาน ใบงาน แบบบันทึกการตรวจสุขภาพ แบบบันทึกการดื่มนม การรับประทานอาหารกลางวัน และเพิ่มเติมแบบประเมินทักษะพื้นฐานด้านการคิด 4.การจัดแสดงผลงานเด็กในช่วงนิทรรศการ อาจเผยแพร่ได้ทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ  -ครูสามารถนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ในการประกอบการตัดสินใจหรือช่วยในการวางแผนพัฒนาผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ -เด็กได้รับการช่วยเหลืออย่างดีและรวดเร็วขึ้นจากการที่ครูมีข้อมูลเด็กในด้านต่างๆ รวมทั้งมีข้อมูลเพื่อการส่งเสริมทักษะพื้นฐานด้านการคิด-เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 มีข้อมูลสารสนเทศ การพัฒนา รอบด้าน รวมทั้งมีข้อมูลเพื่อการ พัฒนาทักษะพื้นฐานด้านการคิด
2.2 การดำเนินการตามระบบ ดูแลช่วยเหลือผู้เรียน      1.รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำและใช้สารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 2.จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่หลากหลายในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 3.รายงานกิจกรรมการติดตามนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อช่วยเหลือผู้เรียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ด้วยวิธีการ “เยี่ยมบ้าน100%” โดยการเดินทางไปเยี่ยมที่บ้านเด็ก สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเด็ก ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง – ระบบช่วยเหลือนักเรียนยากจน -การศึกษาเด็กเป็นรายกรณี มีทั้งแก้ปัญหาและส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย-ครูได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กมากขึ้น และเด็กได้ทุนการศึกษาได้รับการช่วยเหลือ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น และได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับเด็กตามบริบทของชุมชน สภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่มากขึ้น -ผู้เรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือในประเด็นปัญหาต่างๆ ทั้งการเรียน ครอบครัว และการดำรงชีวิต-เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 ได้รับการเอาใจใส่จากครู ครูเยี่ยมบ้านเด็กทุกคน -เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 ได้รับการติดตามช่วยเหลือ เพื่อแก้ปัญหาการเรียน ครอบครัว และการดำรงชีวิต
2.3. การปฏิบัติงานวิชาการและงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา      -เข้าร่วมอบรมตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย -งานพัฒนาการจัดการเรียนการสอน -งานพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา -ครูวิชาการช่วงชั้นปฐมวัย -งานประกันคุณภาพสถานศึกษาระดับปฐมวัย -ดูแลประจำชั้นอนุบาล 2 -ดูแล บำรุงรักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย -ครูเวรประประจำวันจันทร์ ควบคุม ดูแลกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า -จัดโครงการต่าง ๆ -ตรวจวัดอุณหภูมิ เป็นครูเวรจุดคัดกรองโควิด -ดูแลงานด้านวิชาการระดับปฐมวัย ทำการแผนปฎิบัติการ  ปรับปรุงหลักสูตรระดับปฐมวัย  -ดูแลระบบมาตรฐานชาติระดับปฐมวัย-ครูคอยดูแลเด็กส่งผลให้เด็กได้รับความรัก ความอบอุ่น -เด็กมีความปลอดภัยมากขึ้นในการมาโรงเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด ๑๙ -เด็กได้ทำกิจกรรมตามโครงการที่ทางโรงเรียนจัดให้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ส่งผลต่อพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน -เด็กปฐมวัยชั้น อนุบาลปีที่ 2 ได้รับการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อย่างหลากหลายเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้มีพัฒนาการด้าน สติปัญญาสูงขึ้น-เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 ได้รับการพัฒนา มีส่วน ร่วมในกิจกรรมทาง วิชาการที่โรงเรียนจัดขึ้น และเกิดการเรียนรู้กับเด็กทุกคน -เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2  ร้อยละ 75 มีเจตคติที่ดีต่อการ เรียนรู้และสามารถนำ ทักษะ ด้านภาษาไทย ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้  
2.4. การประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ1.สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 2.ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย หรือสถานประกอบการ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา และพัฒนาผู้เรียน 3.พูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันแก้ปัญหา ส่งเสริม เกี่ยวกับตัวเด็กให้ดีขึ้น ผ่านทางการติดต่อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Line , Facebook หรือการโทร 4.จัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ (PLC) กับครูผู้สอนปฐมวัยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาเด็ก  -การประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการอำนวยความสะดวก และการสนับสนุนการเรียนรู้จากโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน -เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น เด็กได้รับการยอมรับ ชื่นชมมากขึ้น ได้รับความรัก ความอบอุ่นจากการใส่ใจจากครูและผู้ปกครอง -เด็กปฐมวัยชั้น อนุบาลปีที่ 2 ได้รับ การแก้ไขปัญหาการ เรียนรู้ได้เหมาะสม ตามความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและ ได้รับการแก้ไขปัญหา ทักษะพื้นฐานด้านการคิด-เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 ได้รับการแก้ไข ปัญหาด้านการเรียนรู้ และทักษะพื้นฐานด้านการคิด
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่งงาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลงใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ)ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ)ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนา มากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น(โปรดระบุ)
3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง  3.1. การพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง          1.จัดทำแผนพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการจำเป็นหรือตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกัด 2.พัฒนาตนเองตามแผน 3.นำความรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนา และกระบวนการชุมชนวิชาชีพ (PLC) มาสร้าง สื่อและนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามหลักสูตรต้องการ 4.เข้าร่วมการประชุม/อบรม/สัมมนา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ และรายงานผลการประชุม/อบรม/สัมมนา อย่างเป็นระบบ  และเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการประชุม/อบรม/สัมมนา ไปยังครูที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 5.อบรมพัฒนาตนเองในเรื่องต่าง ๆ / ประชุม ทั้งในรูปแบบปกติและแบบ on line-การนำความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาด้วยวิธีการใหม่ๆ อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง -เด็กปฐมวัยชั้น อนุบาลปีที่ 2 ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคลและเด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่สูงขึ้น -เด็กปฐมวัยชั้น อนุบาลปีที่ 2 ได้รับ การแก้ไขปัญหาการ เรียนรู้ได้เหมาะสม ตามความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและ ได้รับการแก้ไขปัญหา ทักษะพื้นฐานด้านการคิด-ครูพัฒนาตนเองตามแผน ไม่น้อยกว่า 10 หลักสูตร และนำความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้ ผู้เรียน ร้อยละ 75 ผ่านการประเมินตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ -เด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 75 ได้รับการแก้ไข ปัญหาด้านการเรียนรู้ และทักษะพื้นฐานด้านการคิด
3.2. การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้      1.เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2.นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 3.สร้างนวัตกรรมที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4.พูดคุย แลกเปลี่ยน ร่วมกันแก้ปัญหา นำความรู้ในด้านต่าง ๆ มาช่วยกันร่วมแก้ปัญหา ส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นและสมวัย -มีการนิเทศชั้นเรียน    -มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ ส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ -เด็กได้รับการส่งเสริมและแก้ปัญหาในส่วนที่ยังมีพัฒนาการที่ล่าช้าให้ดีขึ้นตามวัย-ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพตลอดปีงบประมาณ ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ผู้เรียน ร้อยละ 75 ผ่านการประเมินตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ -เด็กร้อยละ 75 ได้รับการส่งเสริมแก้ปัญหาในส่วนของพัฒนาการที่ล่าช้า ให้ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง
3.3. การนำความรู้ความสามารถทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้มีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ที่ทำให้เกิดความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นใน 4 รายการ ดังนี้ -การศึกษาเอกสารทางวิชาการ ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง ต่อปี -นำการอบรม การประชุม การพูดคุยปรึกษาหารือ มาจัดทำสื่อ พัฒนาสื่อเพื่อแก้ปัญหา ส่งเสริม เด็ก นำมาจัดทำวิจัย นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เด็กมีผลของพัฒนาการที่ดีขึ้น     -การนำความรู้ความสามารถทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์รูปแบบใหม่ๆ ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตาม- สื่อ สื่อเกมการศึกษาจากกระดาษ – เกมจับคู่ภาพพยัญชนะไทยกับเงา – เกมจับคู่ภาพกับตัวพยัญชนะไทย – เกมไม้หนีบพยัญชนะไทย – เกมไม้ไอติมจับคู่พยัญชนะไทย สื่อ Power Point ทำ PTT , CAI – สื่อ PTT เกมจับคู่พยัญชนะไทย – สื่อ PTT เกมตอบปัญหาพาสนุกปฐมวัย – สื่อ Live Worksheets – ใบงานจับคู่ภาพกับเงา – ใบงานโยงเส้นภาพจับคู่กับพยัญชนะไทย – ใบงานเลือกภาพที่ถูกต้อง -สื่อใบงานต่าง ๆ – ใบงานเกมการศึกษา เช่น การโยงเส้นจับคู่ภาพที่สัมพันธ์กัน , การการโยงเส้นจับคู่ภาพกับเงา , ใบงานวงกลมภาพที่เหมือนกัน , ใบงานเรียงลำดับภาพ ฯลฯ มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ -เด็กได้ใช้สื่อ ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ มากขึ้น นวัตกรรมช่วยส่งเสริมเด็กให้บรรลุผลมากยิ่งขึ้น ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย และเน้นถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน-ครูใช้รูปแบบ เทคนิค วิธีการสอนใหม่ๆ ในการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียน ร้อยละ 75 ผ่านการประเมินตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ – เด็กร้อยละ 75 มีผล ประเมินพัฒนาการอยู่ในระดับดี ทุกด้าน และมีผลการประเมินคุณภาพพัฒนาการตามมาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์และตัวบ่งชี้อยู่ในระดับ ดีทุกด้าน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

หมายเหตุ

1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนา ตามแบบ PA 1 ให้เป็นไปตามบริบท และสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษา และข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง

2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางานต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวม ของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางาน ตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA 2

          3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ ของผู้เรียน (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางาน ตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร

ส่วนที่ 2   ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

          ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการคือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

          ประเด็นท้าทาย เรื่อง “การพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านการคิด สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้เกมการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านคลองชะนี” เป็นการจัดประสบการณ์ ที่เน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงจากสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบกับการใช้สื่อที่หลากหลาย เน้นสื่อหาง่าย ใกล้ตัวโดยการมีส่วนร่วมชองผู้ปกครองที่บ้านเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะทางสมองอันส่งผลต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

          การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาเป็นเรื่องที่สำคัญ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2  โดยหลักสูตรสถานศึกษาได้กำหนดประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง การใช้ภาษา พัฒนาการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและแก้ปัญหา การมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่าง ๆ  ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย  จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนพบว่าเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2ส่วนมากมีปัญหาด้านทักษะการคิด การเรียงลำดับเหตุการณ์ ความสัมพันธ์ของภาพ การเปรียบเทียบ การใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล ครูผู้สอนจึงพัฒนาเกมการศึกษาขึ้นในหลายรูปแบบ ทั้งที่สร้างขึ้นเอง และเกมการศึกษาในรูปแบบมัลติมีเดีย (CAI)  เน้นทางด้านสติปัญญาและการคิด เพื่อพัฒนาเด็กให้เกิดคุณลักษณะพึงประสงค์ตรงตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย   ซึ่งสื่อเกมการศึกษาดังกล่าว สามารถส่งเสริมการสังเกต การจำแนก การจัดกลุ่มความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง  การเรียงลำดับเหตุการณ์   ครูผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สื่อเกมการศึกษาเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ ๓ เพื่อให้เด็กมีทักษะพื้นฐานด้านการคิด สูงขึ้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

“การพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านการคิด สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้เกมการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านคลองชะนี” เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงจากสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบกับการใช้สื่อที่หลากหลาย เน้นสื่อหาง่าย ใกล้ตัวโดยการมีส่วนร่วมชองผู้ปกครองที่บ้านเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะทางสมองอันส่งผลต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัย โดยมีแนวคิด ดังนี้

1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัยเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความหมาย ความสำคัญ จุดมุ่งหมายของการใช้นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยี รวมทั้งหลักการ และบทบาทครูในการใช้นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสติปัญญา

2. การใช้นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัยประกอบด้วยความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางการคิดของเด็กปฐมวัย นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ แนวทางในการใช้นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีในการจัดสภาพแวดล้อม การจัดกิจวัตรประจำวัน การจัดกิจกรรม และการประเมินความสามารถทางการคิดของเด็กปฐมวัย

3. การใช้นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาภาษาของเด็กของปฐมวัยประกอบด้วยความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ แนวทางในการใช้นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีในการจัดสภาพแวดล้อม การจัดกิจวัตรประจำวัน การจัดกิจกรรม และการประเมินความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย

4. การใช้นวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยประกอบด้วยความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีที่นำมาใช้แนวทางในการใช้นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีในการจัดสภาพแวดล้อม การจัดกิจวัตรประจำวัน การจัดกิจกรรม และการประเมินความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

เกมการศึกษา หมายถึง กิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย (Domino) เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto) ภาพตัดต่อ (Jig-saw puzzle) เป็นต้น

เกมการศึกษาเป็นสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมหลักตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาเด็กให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และเน้นทางด้านสติปัญญาหรือการคิดให้แก่เด็ก เกมการศึกษามีหลายประเภท มีรูปแบบและวิธีเล่นแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมความคิดให้แก่เด็กคือ การเล่นเกมการศึกษาควรมีคำถามกระตุ้นให้เด็กได้คิดด้วย เพราะตามธรรมชาติของเด็กมีความสงสัยใคร่รู้อยู่เสมอ และเมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นด้วยคำถามซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ดีชวนให้เด็กสงสัย จูงใจให้เด็กเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพทางความคิดที่เด็กมีอยู่ในตัว ตนให้ก้าวขึ้นสู่ขีดสูงสุด และเมื่อผู้ใหญ่เข้าใจธรรมชาติของเด็กได้ให้การสนับสนุนเด็กหรือตอบ สนองเด็กด้วยความเต็มใจที่จะตอบแก่เด็ก เด็กก็เกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ โดยปกติแล้วเด็กปฐม วัยจะช่างสังเกตและสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่แวดล้อมตัวเอง เมื่อจัดอุปกรณ์หรือสิ่งเร้ามาให้เด็กพัฒนา การสังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ทุกด้าน เด็กจะพัฒนาการคิดได้อย่างดี เกมการศึกษาเป็นสิ่งเร้าที่ดี เป็นสื่อและกิจกรรมที่เด็กสังเกตเห็นได้อย่างเด่นชัด เปรียบเทียบหาความแตกต่างของสิ่ง ของหรือหารายละเอียดบางอย่างในภาพขณะเดียวกันมีคำถามชวนให้เด็กสังเกตมากขึ้น ได้คิด จะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาเป็นผู้ใฝ่รู้และหาความจริงจากสิ่งที่เห็น หรือได้คิด ช่วยให้เด็กกล้าแสดงออก เรียนรู้ที่ฟังผู้อื่นได้ต่อไป

จุดมุ่งหมายเฉพาะเกมการศึกษา มีดังนี้

       – เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเล่นเกมประเภทสองมิติ

       – เพื่อพัฒนาความสามารถที่จะอธิบายความแตกต่างของเกมในเรื่องสี รูปร่าง ขนาด

       – เพื่อพัฒนาความสามารถในกการบอกลักษณะของสิ่งของซึ่งอาจเป็นนามธรรม

       – เพื่อพัฒนาความสามารถในการจดจำคุณสมบัติ โดยนำมาวางในตาราง

       – ฝึกกการสังเกตและจำแนกด้วยสายตา

       – ฝึกการคิดหาเหตุผล

       – ฝึกการตัดสินใจ

ประเภทของเกมการศึกษา

        สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จัดประเภทของเกมการศึกษาไว้ตามหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการแยกประเภทของเกม แต่ละชนิดดังนี้

1.จับคู่

เพื่อให้เด็กได้ฝึกสิ่งที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นการเปรียบเทียบภาพต่างๆ แล้วจัดเป็นคู่ ๆ ตามจุดมุ่งหมายของเกมแต่ละชุดของเกมจับคู่ประกอบด้วย

1.1 เกมจับคู่ที่เหมือนกันหรือสิ่งเดียวกัน            

1.1.1 จับคู่ที่เหมือนกันทุกประการ

1.1.2 จับภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน

1.1.3 จับภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน

1.1.4 จับภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก

1.2 เกมจับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน

1.3 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กัน

1.4 เกมจับคู่ภาพสัมพันธ์แบบตรงข้าม

1.5 เกมจับคู่ภาพเต็มกับภาพที่แยกส่วน

1.6 เกมจับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป

1.7 เกมจับคู่ภาพที่ซับซ้อน

1.8 เกมจับคู่ภาพที่สมมาตรกัน

1.9 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กันแบบอุปมา – อุปมัย

1.10 เกมจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน

1.11 เกมจับคู่ภาพที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน

1.12 เกมจับคู่แบบอนุกรม

2. การต่อภาพให้สมบูรณ์ (Jigsaw)

3. การวางภาพต่อปลาย (Domino)

3.1 เกมโดมิโนภาพเหมือน

3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์

3.3 เกมโดมิโนผสม 5

4. การเรียงลำดับ

4.1 เกมเรียงลำดับขนาด

4.2 เกมเรียงลำดับหมู่ของภาพ

5. การจัดหมวดหมู่

5.1 เกมการจัดหมวดหมู่ของวัสดุ

5.2 เกมการจัดหมวดหมู่ของภาพ

5.3 เกมการจัดหมวดหมู่ของรายละเอียดของภาพ

5.4 เกมการจัดหมวดหมู่ภาพกับสัญลักษณ์

6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ (Lotto)

7. การจับคู่แบบตารางสัมพันธ์

8. พื้นฐานการบวก

9. การทำความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด

ครูดำเนินการ ดังนี้

ครูนำการจัดประสบการณ์ มาใช้ในการพัฒนาความสามารถทางสติปัญญาด้านภาษาไทยของเด็กปฐมวัย  โดยมีวิธีการจัดประสบการณ์  คือ

๑. ศึกษาข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับทักษะการคิดและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ศึกษารายละเอียดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คุณลักษณะตามวัย  สาระการเรียนรู้ และการจัดประสบการณ์

                    ๒. ศึกษาเทคนิคแนวทางการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สื่อเกมการศึกษา สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ ๒ และเพื่อสร้างแบบทดสอบเกมการศึกษา ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

๓. ใช้กระบวนการ PLC ในการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ       

๔. ออกแบบสื่อกิจกรรมเกมการศึกษา ในรูปแบบที่หลากหลาย บูรณาการเข้ากับแผนการจัดประสบการณ์ประจำวัน เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านการคิด 

5.  จัดทำสื่อเกมการศึกษาจากกระดาษ และสื่อเกมการศึกษาออนไลน์ จากคอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรม Power Point ทำ PTT , CAI , Live Worksheets  ดังนี้

           1. สื่อเกมการศึกษาจากกระดาษ

                    – เกมจับคู่ภาพกับเงารูปทรง

                    – เกมจับคู่ภาพกับตัวเลข

                    – เกมไม้หนีบจำนวนกับตัวเลข

                    – เกมวงล้อแสนสนุกจำนวนกับตัวเลข

                    – เกมไม้ไอติมจับคู่ตัวเลขอารบิกกับตัวเลขไทย

              4. สื่อจากคอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรม Power Point ทำ PTT , CAI , Live Worksheets

                    – สื่อ PTT เกมจับคู่ภาพกับตัวเลข

                    – สื่อ PTT เกมจำนวนกับตัวเลข

                    – สื่อ Live Worksheets

– ใบงานจับคู่ภาพจำนวนกับตัวเลข

– ใบงานจับคู่ภาพกับตัวเลข

– ใบงานโยงเส้นภาพจับคู่จำนวนกับตัวเลข

– ใบงานเลือกภาพที่ถูกต้องจำนวนกับตัวเลข

          5. สื่อใบงานต่าง ๆ

                    – ใบงานเกมการศึกษา เช่น การโยงเส้นจับคู่ภาพที่สัมพันธ์กันจำนวนกับตัวเลข, การการโยงเส้นจับคู่ภาพกับเงาตัวเลข, ใบงานวงกลมภาพที่เหมือนกันตัวเลข, ใบงานเรียงลำดับภาพตัวเลข ฯลฯ

6.  นำสื่อนวัตกรรมที่ได้จัดทำขึ้นไปทดลองใช้และนำผลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาสื่อนวัตกรรมต่าง ๆ  ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง               

7. นำผลสะท้อนในการใช้สื่อนวัตกรรม บันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้ นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้        

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

          3.1 เชิงปริมาณ                                                                                                                           นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านคลองชะนี จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 17 คน ร้อยละ 80 มีผลการพัฒนาทางสติปัญญาทักษะพื้นฐานด้านการคิด สูงขึ้น       

3.2 เชิงคุณภาพ                                                                                                                                   นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านคลองชะนี จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 17 คน สามารถพัฒนาทางสติปัญญาทักษะพื้นฐานด้านการคิด  คิดเป็น ร้อยละ 80  และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ตรงตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และตัวบ่งชี้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช    พ.ศ.2560

ตัวอย่างไฟล์ แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู (วิทยฐานะ ครูชำนาญการ) ทุกสังกัด


แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู (วิทยฐานะ ครูชำนาญการ) ทุกสังกัด
แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู (วิทยฐานะ ครูชำนาญการ) ทุกสังกัด

เอกสารเป็นไฟล์ Word แก้ไขได้

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารจากลิงก์ด้านล่างนี้ นะครับ

ติดตามข่าวบน Facebook เพื่อไม่พลาดข่าว ได้ที่

ขอบคุณแหล่งที่มา : ครู น้ำแพร

ท่านสามารถติดตามข่าวสารการศึกษา ข่าวเปิดสอบงานราชการ เปิดสอบครูอัตราจ้าง ข่าวเรียกบรรจุ อบรมออนไลน์ โหลดสื่อการสอน หรืออ่านบทความต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา www.krutonpai.com ได้ตลอดเวลา และสุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เราจะนำเสนอข้อมูล เนื้อหาดี ๆ มีสาระให้กับทุกท่านอีกครั้งอย่างแน่นอน ขอบคุณครับ

ติดตามโพสต์ล่าสุด

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ห้ามพลาด