วันศุกร์, มกราคม 17, 2025
spot_img
หน้าแรกดาวน์โหลดฟรีดาวน์โหลด แนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน และแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านของนักเรียน โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ดาวน์โหลด แนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน และแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านของนักเรียน โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก ครูต้นไผ่ดอทคอม ทุกท่านครับ วันนี้พบกับ ครูต้นไผ่ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ แนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน และแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านของนักเรียน ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำไปศึกษาและนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำ แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านของนักเรียน ในช่วงการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์ แนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน และแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านของนักเรียน ตามรายละเอียดดังนี้ ครับ

ดาวน์โหลด แนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน และแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านของนักเรียน โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


รายละเอียด แนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน และแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านของนักเรียน

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
หลักการและแนวคิด
เจตนารมณ์และหลักการพื้นฐานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นการดำเนินงานที่มีแบบแผนขั้นตอนชัดเจนในการส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐานของความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติร่วมพัฒนา ร่วมแก้ปัญหาจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดนโยบายสำคัญให้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง จัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนนักเรียน ทุกคนจะต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือ พิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครองอย่างรอบด้านด้วยกระบวนการที่ถูกต้อง เหมาะสมและทันการณ์ ได้รับการพัฒนาในทุกมิติ เพื่อให้เป็นคนดี มีความสุข และปลอดภัยในสภาพสังคมปัจจุบัน โดยมีแนวทางการดำเนินการในประเด็นสำคัญ ดังนี้
(1) การปรับเปลี่ยนบทบาทและเจตคติของผู้บริหาร ครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ให้มุ่งไปสู่ความรับผิดชอบในการดูแลพัฒนาการของนักเรียนอย่างเป็นองค์รวม (Educating the Whole Child)
(2) การวางระบบที่จะสร้างความมั่นใจว่านักเรียนทุกคนมีครู-อาจารย์อย่างน้อยหนึ่งคนที่จะดูแลทุกข์สุขอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยเชื่อมประสานการดำเนินงานทุกส่วนทั้งโรงเรียน
(3) การสนับสนุนให้ครู-อาจารย์ได้มีความสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับผู้ปกครองเพื่อให้การดูแลทางบ้าน โรงเรียน และชุมชนเชื่อมประสานกัน
(4) การส่งเสริมให้ผู้ปกครองรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยกันเฝ้าระวังดูแลกลุ่มเครือข่าย ช่วยเหลือสนับสนุนบุตรหลาน
(5) การประสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ชุมชน และผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้มีการส่งต่อ และรับช่วงการแก้ไข ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนในรูปแบบ สหวิทยาการ และสหวิชาชีพ

การเยี่ยมบ้าน (Home Visit)
นิยามและความหมาย
การเยี่ยมบ้านนักเรียน หมายถึง วิธีการศึกษา รวบรวมข้อมูล ที่ช่วยให้ครูได้ทราบชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมทางบ้านของนักเรียน โดยการพบปะสนทนากับผู้ปกครองนักเรียน เป็นการแลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิดเห็น เจตคติซึ่งกันและกัน ตลอดจนเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบ้านกับนักเรียน ทำให้ครูได้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนอย่างชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน

  1. เพื่อเยี่ยมเยียนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับนักเรียน
  2. เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวนักเรียน ได้แก่ สภาพ ความเป็นอยู่ ครอบครัว ฐานะทางการเงิน และอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เห็นสภาพที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงได้ยินแต่คำบอกเล่าเท่านั้น
  3. เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำกับผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา การอบรมสั่งสอน การเลี้ยงดูนักเรียน
  4. เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนในการพัฒนา ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของนักเรียน การเยี่ยมบ้านเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งมักจะนำไปใช้ในขั้นตอนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เป็นการแสดงถึงความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับบ้านในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วยให้ครูรู้จักนักเรียนอย่างลึกซึ้ง มีข้อมูลเชิงประจักษ์ และได้พบเห็นสภาพความเป็นจริงของนักเรียนในครอบครัวและชุมชนและชุมชน สามารถประเมินสาเหตุของปัญหา แล้วดำเนินการช่วยเหลือ นักเรียนให้เหมาะสม ตลอดจนหาแหล่งสนับสนุนที่จะช่วยให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีกิจกรรมย่อย ดังนี้
    1. ระยะเตรียมการ
    (1) ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและประชาชนทราบการดำเนินงานโดยใช้สื่ออย่างหลากหลาย เช่น การประชุมผู้ปกครอง การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การประชาสัมพันธ์ทางหอ กระจายข่าวประจำหมู่บ้าน การจัดทำแผ่นพับ การจัดทำจดหมายข่าว ฯลฯ
    (2) รวบรวม สังเกต ศึกษาข้อมูลนักเรียน ทั้งข้อมูลเชิงพฤติกรรมและกายภาพ เช่น พฤติกรรมขณะอยู่โรงเรียน การแต่งกาย ความสะอาดของร่างกายการเดินทาง ไป-กลับจากบ้านถึงโรงเรียน เป็นต้น นำมาวิเคราะห์ สรุป และกำหนดวัตถุประสงค์ในการเยี่ยมบ้าน
    (3) วิเคราะห์ว่าใครคือคนที่ต้องการพบ เช่น พ่อแม่ หรือลุง ป้า น้า อาของนักเรียน
    (4) เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ ทักษะในการสื่อสารเพื่อการสร้างสัมพันธภาพ การค้นหาปัญหา การรู้สึกเข้าใจและเห็นใจ การให้กำลังใจ ทบทวนประเด็นที่จะสังเกตและสนทนา
    (5) นัดหมายล่วงหน้า เพื่อให้พร้อมทั้งสองฝ่าย หรือในกรณีที่ต้องการข้อมูลที่เป็นธรรมชาติ ไม่มีการจัดฉาก ผู้เยี่ยมบ้านอาจไม่นัดหมายล่วงหน้า

แนวทางการดำเนินงาน

  1. ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    1.1 ประสานสัมพันธ์ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนเห็นความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการเยี่ยมบ้านนักเรียน พร้อมทั้งเชิญชวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเยี่ยมบ้านนักเรียนกับโรงเรียนในพื้นที่ตามความเหมาะสม
    1.2 ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทราบและเห็นความสำคัญเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการเยี่ยมบ้านนักเรียน โดยใช้วิธีการและสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย เช่น การประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการในระดับต่างๆ การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ทางสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น สถานีวิทยุกระจายเสียง หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ฯลฯ
    1.3 ประสานงาน และสร้างความเข้าใจกับสถานศึกษาเพื่อกำหนดแผนการเยี่ยมบ้านนักเรียนร่วมกัน
    1.4 จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน
    1.5 สรุปผลการเยี่ยมบ้านนักเรียน
  2. ระดับสถานศึกษา
    2.1 ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและประชาชนทราบการดำเนินงาน โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลาย เช่น การประชุมผู้ปกครอง การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว ประจำหมู่บ้าน การจัดทำแผ่นพับ ฯลฯ
    2.2 มอบหมายให้ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น กำหนดแผนการเยี่ยมบ้านนักเรียนให้ชัดเจน
    2.3 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ระยะทาง สมาชิก ในครอบครัวว่านักเรียนอยู่กับใคร อยู่อย่างไร หากไปแล้วจะพบใครบ้าง
    2.4 วิเคราะห์ว่าใครคือคนที่ต้องการพบ เช่น พ่อแม่ หรือลุง ป้า น้าอาของนักเรียน
    2.5 เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ และประเด็นในการสนทนา
    2.6 นัดหมายล่วงหน้า เพื่อให้มีความพร้อมทั้งสองฝ่าย หรือในกรณีที่ต้องการข้อมูลจำเป็นเร่งด่วน จะไม่นัดหมายก็ได้ หากต้องการข้อมูลที่เป็นธรรมชาติไม่มีการจัดฉาก ผู้เยี่ยมบ้านอาจไม่นัดหมายล่วงหน้า
    2.7 ไปตามนัด กรณีที่ไปไม่ได้ต้องแจ้งล่วงหน้าเพราะผู้ปกครองนักเรียนบางคนอาจต้องหยุดงาน เพื่อรอพบครู ไม่ควรเลื่อนนัดถ้าไม่จำเป็น
    2.8 หากไปตามนัดแล้วไม่พบใคร ให้ถามเพื่อนบ้านใกล้เคียงเพื่อทราบข้อมูลที่จะมาในครั้งต่อไป
    2.9 สรุปรายงานและความเห็นของผู้เยี่ยมบ้าน เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลนักเรียน

ตัวอย่างไฟล์เอกสาร


เอกสารเป็นไฟล์ PDF

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารจากลิงก์ด้านล่างนี้ นะครับ

ขอบคุณแหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

ข่าวยอดนิยม

ความคิดเห็นล่าสุด