สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก ครูต้นไผ่ดอทคอม ทุกท่านครับ วันนี้พบกับ ครูต้นไผ่ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ คู่มือผู้ฝึกสอนกรีฑา T-Certificate ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำไปศึกษาและนำไปเป็นแนวทาง ในการเรียนรู้คู่มือผู้ฝึกสอนกรีฑา T-Certificate ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์ คู่มือผู้ฝึกสอนกรีฑา T-Certificate ตามรายละเอียดดังนี้ ครับ
ดาวน์โหลด คู่มือผู้ฝึกสอนกรีฑา T-Certificate โดยกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
รายละเอียด คู่มือผู้ฝึกสอนกรีฑา T-Certificate
คู่มือผู้ฝึกสอนกรีฑาเล่มนี้กรมพลศึกษา โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬาได้จัดทำ ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ ใช้ประกอบการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกรีฑา
และให้ผู้ฝึกสอนกรีฑาได้ใช้เป็นคู่มือในการฝึกสอนกรีฑาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การดำ เนินการจัดทำคู่มือเล่มนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีความรู้ความสามารถ
และประสบการณ์ด้านการเป็นผู้ฝึกสอนกรีฑามาเป็นที่ปรึกษาและร่วมจัดทำต้นฉบับ
ความหมายของกรีฑา
ได้มีผู้รวบรวมความหมายของกรีฑาไว้ดังนี้
ชุมพล ปานเกตุ (2531 : 1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า กรีฑา หมายถึง กิจกรรมทางด้านร่างกายที่ประกอบด้วยการกระทำที่เป็นไปอย่างธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งได้แก่ การวิ่งกระโดดและการทุ่ม ขว้าง พุ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า การเล่นกรีฑานั้นเริ่มมีมาตั้งแต่มนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นในโลก
ชัยสิทธิ์ สุริยจันทร์, เพิ่มศักดิ์ สุริยจันทร์ และวัฒนา สุริยจันทร์ (2525 : 32) ได้ให้ความหมายของกรีฑาไว้ว่า กรีฑาแผนกลู่ คือ กรีฑาประเภทที่ต้องแข่งขันกับบนทางวิ่ง
และใช้การวิ่งเป็นส่วนสำคัญ ตัดสินกันด้วยเวลาและความเร็ว เช่น การวิ่งระยะต่างๆ กรีฑาแผนกลาน คือ กรีฑาประเภทที่ต้องประลองความไกลหรือความสูงบนลานกว้างๆ เช่น
การกระโดด ทุ่ม พุ่ง ขว้าง เป็นต้น
อุทัย สงวนพงศ์ (2533 : 4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า กรีฑา หมายถึง กีฬาชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยการวิ่ง การกระโดด การพุ่ง การทุ่มและการขว้าง
ฟอง เกิดแก้ว และสวัสดิ์ ทรัพย์จำนง (2524 : 1) กล่าวว่า กรีฑา เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแยกการแข่งขันออกเป็นสองประเภท คือ ประเภทลู่และประเภทลาน จากที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่า กรีฑา หมายถึง กีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแยกการประลองออกเป็นแผนกลู ่ที่ต้องแข ่งขันบนทางวิ่ง และใช้การวิ่งเป็นส ่วนสำคัญ ตัดสินกันด้วยเวลาและความเร็ว ส่วนแผนกลานประลองบนลานกว้างๆ ด้วยการกระโดด ทุ่ม พุ่ง และขว้าง ตัดสินกันด้วยระยะทางของความไกลหรือความสูง
ความเป็นมาของกรีฑา
สุภารัตน์ วรทอง (2537 : 1-4) ได้เรียบเรียงถึงประวัติและวิวัฒนาการของกรีฑาไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่สมัยแรกถึงปัจจุบันไว้ว่า กรีฑานับว่าเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์เพราะในสมัยโบราณมนุษย์ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติและเผชิญกับความดุร้ายของสัตว์ป่านานาชนิด และต้องใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย การที่มนุษย์ออกไปหาอาหารมาเลี้ยงชีพต้องป้องกันตนเองจากสัตว์ร้าย บางครั้งต้องวิ่งหนีอย่างรวดเร็วเพื่อหนีสัตว์ร้ายถ้าเทียบกับปัจจุบันก็เป็นการวิ่งระยะสั้น หากวิ่งหนีหรือวิ่งไล่ติดตามจับสัตว์มาเป็นอาหาร โดยวิ่งเป็นเวลานาน ๆเทียบได้กับ การวิ่งระยะไกลหรือวิ่งทนนั่นเอง ในบางครั้งขณะที่วิ่ง เมื่อมีต้นไม้กิ่งไม้หรือหินขวางหน้าก็ต้องกระโดดข้ามไป ปัจจุบันจึงกลายเป็นการวิ่งกระโดดข้ามรั้วและวิ่งกระโดดสูงการวิ่งกระโดดข้ามลำธารเล็กๆ แคบๆ เป็นช่วงติดต่อกัน ได้กลายมาเป็นการวิ่งกระโดดไกลและการเขย่งก้าวกระโดด แต่ถ้าลำธารหรือเหวนั้นกว้าง ไม่สามารถกระโดดอย่างธรรมดาได้ จำเป็นต้องหาไม้ยาวๆ มาปักกลางลำธารหรือแง ่หินแล้วโหนตัวข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งก็กลายมาเป็นการกระโดดค้ำ การใช้หอกหรือหลาวที่ทำด้วยไม้ยาวๆ เป็นอาวุธพุ่งฆ่าสัตว์ ปัจจุบันได้กลายมาเป็นพุ่งแหลน เป็นต้น
ตัวอย่างไฟล์ คู่มือผู้ฝึกสอนกรีฑา T-Certificate
เอกสารเป็นไฟล์ PDF
ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารจากลิงก์ด้านล่างนี้ นะครับ
ติดตามข่าวบน Facebook เพื่อไม่พลาดข่าว ได้ที่
ขอบคุณแหล่งที่มา : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ท่านสามารถติดตามข่าวสารการศึกษา ข่าวเปิดสอบงานราชการ เปิดสอบครูอัตราจ้าง ข่าวเรียกบรรจุ อบรมออนไลน์ โหลดสื่อการสอน หรืออ่านบทความต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา www.krutonpai.com ได้ตลอดเวลา และสุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เราจะนำเสนอข้อมูล เนื้อหาดี ๆ มีสาระให้กับทุกท่านอีกครั้งอย่างแน่นอน ขอบคุณครับ
ติดตามโพสต์ล่าสุด
- ดาวน์โหลดฟรี แบบสรุป การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล ไฟล์ Excel แก้ไขได้
- ดาวน์โหลด E-book การพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) กับเด็กปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย
- ดาวน์โหลดฟรี โครงงาน เรื่อง ลิปบาล์มจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
- แจกฟรี แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- กรมป่าไม้ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิ ป.ตรี จำนวน 30 อัตรา รับสมัคร 2 – 26 กันยายน 2567