วันเสาร์, เมษายน 19, 2025
spot_img
หน้าแรกดาวน์โหลดฟรีดาวน์โหลดฟรี การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 โดย สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

ดาวน์โหลดฟรี การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 โดย สพป.ศรีสะเกษ เขต 4


สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก ครูต้นไผ่ดอทคอม ทุกท่านครับ วันนี้พบกับ ครูต้นไผ่ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำศึกษาและนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำการควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 ตามรายละเอียดดังนี้ ครับ

ดาวน์โหลดฟรี การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 โดย สพป.ศรีสะเกษ เขต 4


รายละเอียด การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544

การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544
คำนิยาม
หน่วยงานย่อย คือ ส่วนราชการที่มีการจัดเก็บและนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน และหรือมีการเบิก
จ่ายเงินงบประมาณ ซึ่งมิได้เบิกตรงต่อกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด เช่น แผนกต่างๆ ประจำ
อำเภอ หรือกิ่งอำเภอ สถานีตำรวจ สถานีอนามัย โรงเรียนต่างๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ วิทยาลัย และ
โรงพยาบาลต่างๆ ในส่วนกลาง เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ
ส่วนท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
ระบบควบคุมการเงินนี้มุ่นที่จะช่วยให้หน่วยงานย่อย ซึ่งรวมถึงสถานศึกษา ที่มีอัตรากำลังจำกัด
ไม่มีบุคลากรที่มีคุณวุฒิทางบัญชี และมีการใช้จ่ายเงินไม่มาก ไม่ต้องมีภาระทางบัญชี เพื่อให้มีเวลากับภารกิจ
หลักของสถานศึกษาได้เต็มที่
ประโยชน์
1. ทำให้สะดวกในการควบคุมและตรวจสอบ
2. ทำให้มีการแบ่งงานและความรับผิดชอบอย่างมีสัดส่วน
3. ทำให้สามารถพิสูจน์ความถูกต้องในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
4. ทำให้สามารถจัดทำรายงานการเงินได้รวดเร็ว
ขอบเขตความรับผิดชอบด้านการเงินของสถานศึกษา
1. การเบิก – จ่ายเงินงบประมาณ ให้สถานศึกษารวบรวมหลักฐานการขอเบิกเงินงบประมาณจาก
เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิ ส่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนแล้วสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาจะเบิกเงินจากสำนักงานคลังจังหวัดและจ่ายเงินให้เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิโดยตรง หรือใช้วิธีโอนเงินเข้า
บัญชีเงินฝากธนาคารของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิแล้วแต่กรณี
2. การรับ นำส่งเงินรายได้แผ่นดิน ให้หน่วยงานย่อยนำส่งเงินรายได้แผ่นดินแก่สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาและให้รายงานการรับเงินให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3. การรับ นำส่งเงินนอกงบประมาณ เงินนอกงบประมาณที่สถานศึกษาได้รับไว้แต่ไม่สามารถใช้จ่ายได้
ซึ่งจะต้องคืนเมื่อครบกำหนดผูกพันตามสัญญา ให้นำฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา สำหรับเงินนอกงบประมาณที่สถานศึกษาได้รับและสามารถเก็บไว้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของเงินนอก
งบประมาณนั้นๆ ให้บันทึกควบคุมและรายงานตามวิธีการและรูปแบบที่กำหนด
ข้อกำหนดในการรับเงิน
1. ใบเสร็จรับเงิน
1.1 ใช้ตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด
1.2 จัดทำทะเบียนคุมการใช้ใบเสร็จรับเงิน
1.3 การเขียนใบเสร็จรับเงินถูกต้องตามระเบียบ
1.4 ไม่ใช้ใบเสร็จรับเงินข้ามปีงบประมาณในเล่มเดียวกัน
1.5 สิ้นปีงบประมาณ ใบเสร็จรับเงินส่วนที่เหลือให้เจาะรู ปรุ หรือประทับตราเลิกใช้
1.6 สิ้นปีงบประมาณรายงานการใช้ใบเสร็จรับเงิน
2. การรับเงิน
2.1 การรับเงินมีการออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้ง
2.2 บันทึกเงินที่ได้รับในทะเบียนคุมที่เกี่ยวข้อง ภายในวันที่ได้รับเงินนั้น
ข้อกำหนดในการจ่ายเงิน
1. การจ่ายเงิน
1.1 จ่ายตามกฎหมาย, ระเบียบ, ข้อบังคับ, มติ ค.ร.ม. หรือได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง
1.2 เจ้าหน้าที่การเงินจัดทำบันทึกเพื่อขออนุมัติการเบิกจ่ายจากผู้มีอำนาจอนุมัติจ่าย
1.3 มีหลักฐานการจ่ายเงินที่ถูกต้อง
1.4 เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินรับรองการจ่ายโดย ประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” บนหลักฐานการจ่ายเงิน
ลงลายมือชื่อ พร้อมด้วยชื่อตัวบรรจง วันที่จ่ายเงิน กำกับไว้ในหลักฐานการจ่ายเงิน
1.5 บันทึกการจ่ายเงินในทะเบียนคุมที่เกี่ยวข้องในวันที่จ่ายเงิน
2. หลักฐานการจ่าย
2.1 หลักฐานการจ่ายที่ส่วนราชการจัดทำตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด
2.2 ใบสำคัญคู่จ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเจ้าหนี้/ผู้มีสิทธิรับเงินออกให้ ต้องมีรายการสำคัญ ดังนี้
1) ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
2) วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
3) รายการแสดงการรับเงิน ระบุว่าเป็นค่าอะไร
4) จำนวนเงินทั้งตัวเลข และตัวอักษร
5) ลายมือชื่อของผู้รับเงิน
** การจ่ายเงินรายใด ซึ่งตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้ให้ผู้จ่ายเงิน
ทำใบรับรองการจ่ายเงินได้โดยให้บันทึกชี้แจงเหตุที่ไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินไว้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
** การจ่ายเงินค่าไปรษณียากร ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด ผู้จ่ายเงินจะทำใบรับรองการจ่ายเงิน
โดยแสดงจำนวนและเลขที่ของหนังสือหรือไปรษณียภัณฑ์ ที่ส่งและจำนวนเงินค่าไปรษณียากรที่จ่ายโดยไม่ต้อง
ชี้แจงเหตุผลตามวรรคแรกก็ได้
** การจ่ายเงินต่อไปนี้ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงินโดยไม่ต้องทำบันทึกชี้แจงเหตุผล
1) การจ่ายเงินรายหนึ่งๆ เป็นจำนวนไม่ถึง 10 บาท
2) การจ่ายเงินเป็นค่ารถ หรือเรือนั่งรับจ้าง
3) การจ่ายเงินเป็นค่าโดยสารรถไฟ รถยนต์ประจำทาง หรือเรือยนต์ประจำทาง
3. การเขียนเช็คสั่งจ่าย
3.1 จ่ายเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป สั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้/ผู้มิสิทธิรับเงิน และขีดฆ่า “หรือตาม
คำสั่ง” “หรือผู้ถือ” ออก (จะขีดคร่อมหรือไม่ก็ได)
3.2 จ่ายเงินต่ำกว่า 5,000 บาท สั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้/ผู้มิสิทธิรับเงินและจะไม่ขีดฆ่า “หรือตาม
คำสั่ง” “หรือผู้ถือ” ออกก็ได้ อยู่ในดุลพินิจของผู้สั่งจ่าย
3.3 สั่งจ่ายเพื่อขอรับเงินสดมาจ่าย ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหน้าที่การเงิน และขีดฆ่า คำว่า
“หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ”
3.4 ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเป็นเงินสด
3.5 ต้นขั้วเช็คให้ระบุรายการ ดังนี้
1) วันที่เขียนเช็ค
2) ชื่อผู้รับเช็ค/เจ้าหนี้/ผู้มีสิทธิรับเงิน
3) จำวนเงินคงเหลือก่อนและหลังการจ่าย
4) ด้านหลังต้นขั้วเช็ค ให้ผู้รับลงลายมือชื่อ วันที่รับเช็ค
3.6 จัดทำทะเบียนคุมการจ่ายเช็ค
4. การจ่ายเงินยืม
ตามระบบควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 สัญญายืมเงินไม่ต้องบันทึกรายการใน
ทะเบียนคุมเอกสารแทนตัวเงิน ดังนั้นเมื่อจ่ายเงินยืม จะต้องตัดจ่ายจากทะเบียนคุมเงินที่เกี่ยวข้องโดย
ดำเนินการดังนี้
4.1 จัดทำสัญญาการยืมเงินตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด
4.2 ประมาณการค่าใช้จ่ายและกำหนดเวลาส่งใช้
4.3 ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินยืม โดยให้ยืมเท่าที่จำเป็นเพื่อใช้ในราชการ
4.4 ห้ามอนุมัติให้ยืมเงินรายใหม่ ถ้าผู้ยืมมิได้ส่งใช้เงินยืมรายเก่าให้เสร็จสิ้นก่อน
4.5 เมื่อครบกำหนดส่งใช้เงินยืม ผู้ยืมยังมิได้ส่งใช้ ให้เจ้าหน้าที่ติดตามและทวงถาม
4.6 เมื่อผู้ยืมเงินส่งใช้เงินยืม ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคืนบันทึกการรับคืนด้านหลังสัญญายืมเงิน
• ส่งใช้เป็นเงินสด ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับเงินคืนออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ให้กับผู้ยืมเงิน
• ส่งใช้เป็นใบสำคัญ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับเงินคืน ออกใบรับใบสำคัญ ตามแบบที่กระทรวงการคลัง
กำหนดให้กับผู้ยืมเงิน
4.7 บันทึกรายการในทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ ตามประเภทของเงินที่ยืม
ข้อกำหนดในการเก็บรักษาเงิน
1. การจัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน ตามระบบควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 ใน
กรณีที่วันใดไม่มีการรับ-จ่ายเงิน ก็ให้จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน และหมายเหตุในรายงาน ว่า ไม่มีการ
รับ – จ่ายเงิน
2. ทุกสิ้นวันให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสรุปยอดเงินคงเหลือแต่ละประเภทที่ปรากฏในทะเบียนคุมเงิน
ประเภทต่างๆ เพื่อจัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน เสนอกรรมการเก็บรักษาเงินที่ผู้อำนวยการสถานศึกษา
แต่งตั้ง โดยจำนวนเงินคงเหลือที่ปรากฏในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน จะประกอบด้วย
– รายการเงินสด จะต้องเท่ากับตัวเงินสด เช็ค หรือธนาณัติ ที่ตรวจนับได้
– รายการเงินฝากธนาคารจะต้องเท่ากับยอดที่ปรากฏในบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับบัญชีเงินฝาก
ธนาคาร ทุกสิ้นเดือนให้จัดทำงบเทียบยอดบัญชีเงินฝากธนาคาร
– รายการเงินฝากส่วนราชการผู้เบิก จะต้องเท่ากับยอดที่ปรากฏในสมุดคู่ฝาก
3. คณะกรรมการเก็บรักษาเงินร่วมกันตรวจสอบตัวเงิน และหลักฐานแทนตัวเงินกับรายงานเงินคงเหลือ
ประจำวัน เมื่อถูกต้องครบกันแล้ว ให้ลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน
การแต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน ให้แต่งตั้งและปฏิบัติตามระเบียบ ว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง
การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 ส่วนที่ 2 กรรมการเก็บรักษาเงิน
ข้อ 86 ถึง ข้อ 91
4. กรณีมีตู้นิรภัย ให้นำเงินเข้าเก็บในตู้นิรภัย
5. กรณีที่ไม่มีตู้นิรภัย เมื่อมีเงินสดคงเหลือให้จัดทำบันทึกการรับเงินเพื่อเก็บรักษาตามจำนวนเงินและ
ตามประเภทของเงิน เมื่อสิ้นวันทำการให้นำฝากผู้อำนวยสถานศึกษา
6. เจ้าหน้าที่การเงินนำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน เสนอผู้อำนวยการสถานศึกษาทุกวัน
7. วงเงินเก็บรักษาของเงินแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเรื่องนั้นๆ
ข้อกำหนดในการควบคุมและตรวจสอบ
เพื่อให้การบริหารงานด้านการเงินของสถานศึกษาเป็นไปอย่างถูกต้อง จึงต้องมีการตรวจสอบการ
ปฏิบัติงาน โดยให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้อำนวยการสถานศึกษามอบหมายให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ตรวจสอบการส่งเอกสารหลักฐานในทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิกว่าได้มีการส่งหลักฐานให้สำนักงาน
เขตพื้นทีการศึกษา เป็นไปตามลำกับก่อนหลังหรือไม่
2. ทุกสิ้นวันทำการ ให้ตรวจสอบการบันทึกรายการเคลื่อนไหวในทะเบียนคุมต่างๆ ซึ่งจำนวนเงินรวม
ของเงินแต่ละประเภทที่สถานศึกษาได้รับ หักจำนวนเงินที่นำส่ง หรือนำฝากในวันนั้น จะเป็นยอดที่แสดงไว้ใน
รายงานเงินคงเหลือประจำวันตามประเภทเงิน
ผู้บริหารสถานศึกษาควรแต่งตั้งผู้ตรวจสอบการรับจ่ายเงินประจำวัน ตามระเบียบ ว่าด้วยการเบิก
เงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562
ข้อกำหนดในการจัดทำรายงานและส่งรายงาน
1. ตามระบบการควบคุมเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 การทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน ใน
กรณีที่วันใดไม่มีการรับ – จ่ายเงิน ก็ให้จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน และหมายเหตุในรายงานว่า ไม่มี
การรับ – จ่ายเงิน และทุกสิ้นเดือนให้สำเนารายงานเงินคงเหลือประจำวัน ณ วันทำการสุดท้ายของเดือนให้
ส่วนราชการผู้เบิก (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา) ทราบ โดยส่งรายงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เพื่อ
ประโยชน์ในการกำกับดูแล
2. รายงานการรับ – จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา ให้รายงานให้คณะกรรมการสถานศึกษาทราบทุกสิ้น
ภาคเรียน และจัดส่งรายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทุกสิ้นปีการศึกษา
3. รายงานการใช้ใบเสร็จรับเงิน ส่งทุกสิ้นปีงบประมาณ อย่างช้า ไม่เกินวันที่ 15 ตุลาคม ของ
ปีงบประมาณถัดไป
เอกสาร/หลักฐาน ที่ใช้ประกอบการบันทึกรายการ
หลักฐานซึ่งแสดงการรับหรือจ่ายเงินของสถานศึกษา ให้ถือเป็นเอกสารประกอบการบันทึกใน
ทะเบียนคุมเงิน ได้แก่
1. เอกสารด้านรับ ได้แก่
1.1 สำเนาใบเสร็จรับเงิน เป็นเอกสารที่เกิดจากสถานศึกษาออกใบเสร็จรับเงินเมื่อได้รับเงิน
ประเภทต่าง ๆ เขียนย่อ ว่า “บร” หรือ เล่มที่ เลขที่ของใบเสร็จ
1.2 คู่ฉบับใบเบิกเงินฝาก (เอกสารหมายเลข 32) เป็นเอกสารที่เกิดจากสถานศึกษาจัดทำ
เพื่อขอถอนเงินที่นำฝากเงินจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1.3 สมุดคู่ฝากธนาคารหรือสมุดเงินฝากธนาคาร ใช้เป็นหลักฐานรับเงินกรณีสถานศึกษาได้รับโอน
เงินเข้าบัญชีธนาคาร
1.4 คู่ฉบับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (บก.28 หรือแบบ 4235) ตามแบบที่
กระทรวงการคลังกำหนด (เอกสารหมายเลข 33) เป็นหลักฐานการรับฝากเงินภาษีเพื่อรอนำส่งให้สำนักงาน
สรรพากร ในกรณีที่สถานศึกษาจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ และหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามกฎหมายกำหนด
2. เอกสารด้านจ่าย ได้แก่
2.1 ใบเสร็จรับเงินของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นเอกสารหลักฐานที่สถานศึกษาได้รับ
เมื่อนำเงินรายได้แผ่นดินส่งคลัง โดยผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.2 ใบนำฝาก (เอกสารหมายเลข 34) เป็นเอกสารหลักฐานที่สถานศึกษาจัดทำเพื่อนำเงิน
นอกงบประมาณฝากคลัง โดยผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.3 หลักฐานการจ่าย ซึ่งประกอบด้วย
2.3.1 หลักฐานต้นเรื่องหรือหลักฐานดำเนินการตามระเบียบ
2.3.2 ใบสำคัญคู่จ่าย ซึ่งได้แก่ ใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหนี้ ใบเสร็จรับเงินจากสำนักงาน
ประกันสังคม ใบเสร็จรับเงินจากสำนักงานสรรพากร เป็นเอกสารแสดงการจ่ายเงินของสถานศึกษาให้กับ
บุคคลภายนอก เขียนคำย่อว่า “บจ”
2.3.3 ใบสำคัญรับเงิน (เอกสารหมายเลข 35) เป็นเอกสารแสดงการจ่ายเงินของสถานศึกษา
ให้กับบุคคล/ร้านค้า ที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ เขียนคำย่อว่า “บค”
กรณีเป็นใบสำคัญรับเงิน ควรให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน เพื่อ
ประโยชน์ในการยืนยัน ชื่อ และสถานที่อยู่ที่ถูกต้องของผู้รับเงิน
2.3.4 สัญญายืมเงิน เป็นเอกสารที่แสดงการจ่ายเงินยืมของสถานศึกษา เขียนคำย่อว่า “บย”
ทะเบียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
1. ทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก (เอกสารหมายเลข 36) ใช้สำหรับบันทึกควบคุมหลักฐานขอเบิก
ได้แก่ หลักฐานขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ค่าการศึกษาบุตร ค่าเช่าบ้าน เพื่อควบคุมมิให้หลักฐานสูญหาย
และช่วยให้ดำเนินการขอเบิกเงินตามลำดับก่อนหลัง
2. ทะเบียนคุมเงินงบประมาณ (เอกสารหมายเลข 37) ใช้สำหรับการควบคุมการรับจ่ายเงิน
งบประมาณที่ขอเบิกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ต้นสังกัด
3. ทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ (เอกสารหมายเลข 38) ใช้สำหรับการบันทึกควบคุมการรับและ
จ่ายเงินนอกงบประมาณ โดยบันทึกแยกทะเบียนตามประเภทของเงิน ได้แก่ เงินอุดหนุนรายหัว เงินโครงการ
อาหารกลางวัน เงินรายได้สถานศึกษา (แยกตามเงินที่ได้รับเช่นเงินบริจาค เงินบำรุงการศึกษา เป็นต้น)
4. ทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ-เงินฝาก (เอกสารหมายเลข 39) ใช้สำหรับบันทึกควบคุมการรับ
และนำฝากเงินนอกงบประมาณประเภทที่ต้องจ่ายคืนให้แก่ผู้มีสิทธิเมื่อถึงกำหนด ได้แก่ เงินประกันสัญญา
5. ทะเบียนคุมการรับและนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน (เอกสารหมายเลข 40) ใช้สำหรับการบันทึก
ควบคุมการรับและนำส่งเงินรายได้แผ่นดินโดยทะเบียนคุมมีช่องหลายช่องให้บันทึกแยกตามประเภทของ
เงินรายได้แผ่นดินที่ได้รับ
6. สมุดคู่ฝาก (เอกสารหมายเลข 41) ใช้สำหรับบันทึกควบคุมการฝากเงินนอกงบประมาณ
กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ส่วนราชการผู้เบิก) และควบคุมการถอนเงินที่นำฝาก ได้แก่ เงินประกัน
สัญญา เงินรายได้สถานศึกษา เงินอุดหนุนที่ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ
รายงานทางการเงิน ประกอบด้วย
1. รายงานเงินคงเหลือประจำวัน
รายงานเงินคงเหลือประจำวัน (เอกสารหมายเลข 42) ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดเงินคงเหลือ
แต่ละประเภทที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยทุกสิ้นวันให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสรุปยอดเงินคงเหลือแต่ละ
ประเภทจากทะเบียนคุมเงินต่าง ๆ จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน เสนอกรรมการเก็บรักษาเงินตรวจสอบ
เมื่อกรรมการลงนามในรายงานแล้วให้นำเงินสด เช็ค หรือธนาณัติเก็บเข้าตู้นิรภัยแล้วเสนอรายงานให้
ผู้อำนวยการสถานศึกษาลงนาม
2. รายงานประจำเดือน
สถานศึกษาจัดทำรายงานส่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ เพื่อประโยชน์ในการ
ตรวจสอบและกำกับดูแล ดังนี้
2.1 รายงานการเงินประจำเดือน
สถานศึกษาส่งสำเนารายงานเงินคงเหลือประจำวัน ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
2.2 รายงานการรับและนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน
สถานศึกษาจัดทำรายงานการรับและนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน กรณีสถานศึกษานำส่งเงิน
รายได้แผ่นดินเข้าคลังโดยตรง หรือกรณีสถานศึกษานำส่งรายได้แผ่นดินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา
3. รายงานอื่น ๆ
สถานศึกษาจัดทำรายงานการรับ-จ่ายเงินนอกงบประมาณ ส่งให้ส่วนราชการผู้เบิกตามระยะ
เวลาและรูปแบบที่กำหนดในระเบียบหรือหนังสือสั่งการของระบบเงินนอกงบประมาณที่เกี่ยวข้องนั้น เช่น
3.1 รายงานการรับ-จ่ายเงินรายได้สถานศึกษาประจำปีงบประมาณ
สถานศึกษาที่มีเงินรายได้สถานศึกษา ต้องจัดทำรายงานการรับ-จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา
(เอกสารหมายเลข 43) เสนอให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ทั้งนี้ ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตราและวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551
3.2 รายงานผลการดำเนินงานกองทุนโรงเรียนประชารัฐ
สถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนประชารัฐ ให้รายงานผลการดำเนินงานตามที่ระเบียบสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยกองทุนสานพลังประชารัฐ : โรงเรียนประชารัฐ พ.ศ. 2559 และ
คู่มือโรงเรียนกองทุนประชารัฐ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ดังนี้
1) จัดทำรายงานผลการดำเนินงานกองทุนโรงเรียนประชารัฐ เสนอต่อคณะกรรมการ
บริหารกองทุนโรงเรียนเพื่อพิจารณาภายใน 15 วันนับจากวันสิ้นภาคเรียน (แบบ ปชร.1) (เอกสารหมายเลข
44)
2) คณะกรรมการบริหารกองทุนโรงเรียนรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ
ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนประชารัฐของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นภาคเรียน
3) คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนประชารัฐของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการนโยบายบริหารกองทุน
4) รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนโรงเรียนประชารัฐ (แบบ ปชร.2) (เอกสารหมายเลข 45)
การควบคุมและการตรวจสอบ
เพื่อให้การดำเนินงานตามระบบการควบคุมการเงินของสถานศึกษาเป็นไปอย่างถูกต้องจึงจำเป็น
ต้องมีการตรวจสอบการปฏิบัติงาน โดยให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการดังนี้
1. ตรวจสอบการส่งเอกสารหลักฐานในทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิกว่า ได้มีการส่งหลักฐานให้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปตามลำดับก่อนหลังหรือไม่
2. ทุกสิ้นวันทำการ ให้ตรวจสอบการบันทึกรายการเคลื่อนไหวในทะเบียนต่าง ๆ ซึ่งจำนวนเงินรวม
ของเงินแต่ละประเภทที่สถานศึกษาได้รับ หัก จำนวนเงินที่นำส่ง หรือนำฝากในวันนั้น จะเป็นยอดที่
แสดงไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันตามประเภทของเงิน
3. ทุกสิ้นเดือน ให้ตรวจสอบยอดคงเหลือในทะเบียนต่าง ๆ กับรายงานเงินคงเหลือ ประจำวัน
ณ วันทำการสุดท้ายของเดือนให้ถูกต้อง และสำเนารายงานเงินคงเหลือประจำวันส่งให้สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา พร้อมทั้งส่งงบเทียบยอดเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน (ถ้ามี) ไปด้วย
การควบคุมด้านการเงินการบัญชี
สถานศึกษาที่เป็นหน่วยงานย่อย นอกจากต้องปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชี ให้เป็นไปตามระบบ
การควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 แล้วยังต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและ
หนังสือสั่งการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน
การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และระเบียบสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ใน
สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549 เป็นต้น ดังนั้นสถานศึกษาต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่บัญชี
(เอกสารหมายเลข 46) เพื่อมีหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงิน การรับเงิน – จ่ายเงิน
การนำเงินส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำบัญชี/ทะเบียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดเก็บเอกสารทางการเงินการ
บัญชีเพื่อใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบจากหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางการ
ควบคุม ดังนี้
1. การรับจ่ายเงินของสถานศึกษา
1.1. การรับเงิน
เมื่อสถานศึกษาได้รับเงินให้เจ้าหน้าที่การเงินของสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงินหรือผู้ที่มอบเงินให้สถานศึกษาเพื่อเป็นหลักฐานทุกรายการที่ได้รับเงิน
โดยใบเสร็จรับเงินให้ระบุข้อมูลรายละเอียดให้ครบถ้วน สมบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการใช้จ่ายเงินและบันทึก
รายการทางบัญชีเพื่อควบคุมเงินได้ถูกต้อง ดังนี้
1.1 วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
1.2 ชื่อผู้ชำระเงิน หรือมอบเงินให้สถานศึกษา
1.3 จำนวนเงินที่ได้รับ
1.4 ในช่องรายการให้ระบุรายละเอียดรายการที่ได้รับเงินและวัตถุประสงค์ของเงินไว้ให้ชัดเจน
กรณีได้รับเป็นเช็คธนาคารให้เพิ่มชื่อธนาคาร เลขที่เช็ค วัน เดือน ปีในเช็คให้ชัดเจน หรือกรณีได้รับโอนเงินเข้า
บัญชีเงินฝากธนาคารของสถานศึกษา ก็ให้กรอกข้อมูลเพิ่มเติมในช่องรายการให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน
1.2. การจ่ายเงิน
2.1 สถานศึกษาดำเนินการตามกิจกรรม/โครงการที่กำหนดในแผนปฏิบัติการประจำปี ที่ได้รับ
ความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือดำเนินการตามกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจาก
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยปฏิบัติงานให้ถูกต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ และเสนอหลักฐาน
ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาอนุมัติการจ่ายเงิน
2.2 เจ้าหน้าที่การเงินจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ให้ครบทุกรายการที่จ่ายเงิน
ตรวจสอบให้ถูกต้อง และลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงินพร้อมตัวบรรจง และวัน เดือน ปี ที่จ่ายเงินด้วย โดย
ใบเสร็จรับเงินเจ้าหนี้บุคคลภายนอก อย่างน้อยต้องมีรายการ 5 รายการ ดังนี้
2.2.1 ชื่อ และสถานที่อยู่หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
2.2.2 วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
2.2.3 รายการแสดงการรับเงินที่ระบุว่าเป็นค่าอะไร
2.2.4 จำนวนเงินที่รับ ทั้งตัวเลขและตัวอักษร
2.2.5 ลายมือชื่อของผู้รับเงิน
หากการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินโดยวิธีการโอนเงินผ่านธนาคารต้องจัดทำ
แบบคำขอรับเงินผ่านธนาคาร (เอกสารหมายเลข 47-48 ) ประกอบการโอนเงินด้วย
2. การเก็บรักษาเงินของสถานศึกษา
การเก็บรักษาเงินของสถานศึกษาให้ปฏิบัติตามแนวทาง ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย
การเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 โดย
1.1 แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน (เอกสารหมายเลข 49) โดยมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
1.2 เมื่อสิ้นเวลารับจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน ส่งมอบเงินที่จะ
เก็บรักษาต่อกรรมการเก็บรักษาเงินพร้อมรายงานเงินคงเหลือประจำวัน
1.3 กรรมการเก็บรักษาเงินร่วมกันตรวจสอบเงินสดและหลักฐานแทนตัวเงิน (เช็ค/ธนาณัติ)
กับรายงานเงินคงเหลือประจำวัน เมื่อปรากฏว่าถูกต้องแล้วให้นำเก็บรักษาในตู้นิรภัยและให้กรรมการทุกคน
ลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันแล้วเสนอรายงานให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาลงนาม
1.4 ในวันทำการถัดไปหากสถานศึกษามีความประสงค์จะนำเงินที่เก็บรักษาในตู้นิรภัยออกมา
ใช้จ่าย ก็ให้กรรมการเก็บรักษาเงินส่งมอบเงินให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ที่ผู้อำนวยการสถานศึกษา
มอบหมาย รับเงินไปจ่ายตามระเบียบ โดยให้ลงลายมือชื่อรับเงินไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน
ก่อนวันทำการที่รับเงินนั้นไปจ่าย
**กรณีสถานศึกษาไม่มีตู้นิรภัย การเก็บรักษาเงินสดคงเหลือดำเนินการโดยให้เจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบจัดทำ “บันทึกการรับเงินเพื่อเก็บรักษา” (เอกสารหมายเลข 50) ตามจำนวนเงินและตามประเภท
ของเงิน เสนอให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาลงนาม พร้อมทั้งนำเงินมอบให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารับไปเก็บ
รักษาและในวันทำการถัดไปให้ผู้อำนวยการสถานศึกษามอบเงินคืนให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบรับเงินไปจ่ายตาม
ระเบียบต่อไป

ตัวอย่างไฟล์ การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544


การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544
การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544
การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544

เอกสารเป็นไฟล์ PDF

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารจากลิงก์ด้านล่างนี้ นะครับ

ขอบคุณแหล่งที่มา : สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

ข่าวยอดนิยม

ความคิดเห็นล่าสุด