สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก ครูต้นไผ่ดอทคอม ทุกท่านครับ วันนี้พบกับ ครูต้นไผ่ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ วิจัยในชั้นเรียน เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง”คำคล้องจอง” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำไปศึกษาและนำไปเป็นแนวทาง ในการจัดทำ วิจัยในชั้นเรียน ตามบริบทของห้องเรียน ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์ วิจัยในชั้นเรียน เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง”คำคล้องจอง” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามรายละเอียดดังนี้ ครับ
ดาวน์โหลดฟรี วิจัยในชั้นเรียน เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง”คำคล้องจอง” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไฟล์ Word แก้ไขได้ โดยคุณครูธิดารัตน์ กานำ
วิจัยในชั้นเรียน เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง”คำคล้องจอง” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ความเป็นมาของการวิจัย
การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบยั่งยืน เพราะการศึกษา เป็นการพัฒนาความรู้ ความคิด สติปัญญา รวมทั้งค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ให้เป็นคนที่ความสามารถ ในการคิดการปรับตัว และแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับชีวิต เป็นพื้นฐานหลักในการตัดสินใจแสดงพฤติกรรม อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ และภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติเป็นเอกลักษณ์ ที่แสดงถึงความรุ่งเรืองในอดีต เป็นหลักฐานสำคัญ ในการศึกษาความเป็นมาของชาติไทย เป็นเครื่องมือในการสื่อสารถ่ายทอดความรู้ความคิด ความรู้สึกจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งเป็นเครื่องมือ ถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ ทุกคนภาคภูมิใจ เป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้แสวงหาความรู้จากนานาวิทยาการ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นและยังเป็นเครื่องมือประสานสัมพันธ์ให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคม และประเทศชาติ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงดำรัสไว้
ความว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้กำหนดสาระมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง การดูและการพูด ด้านสาระ การอ่าน ส่วนตัวชี้วัดของการอ่านสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คือ ผู้เรียนสามารถอ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ข้อความสั้น ๆ และเข้าใจความหมายของคำพื้นฐานภาษาไทย ตามบัญชีคำที่ สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ ซึ่งเป็นคำที่ใช้ ในชีวิตประจำวัน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551: 6-7) ซึ่งสอดคล้องกับ สุนันท์ อัญชลีนุกูล (2546: 13) กล่าวถึง คำในภาษาไทยว่า มีทั้งคำพยางค์เดียวและคำหลายพยางค์ คำพยางค์เดียวส่วนมาก เป็นคำพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น คำเกี่ยวกับธรรมชาติ คำเกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คำเกี่ยวกับสัตว์ คำเกี่ยวกับเครือญาติ คำเกี่ยวกับพืช ผลไม้ คำเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย โดยทั่วไป มีเป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ การให้นักเรียนสามารถใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการฟัง พูด อ่านและเขียนให้ถูกต้อง เน้นการฝึก ทักษะทั้ง 4 ให้สัมพันธ์กัน ทักษะที่ผู้เรียนควรได้รับการส่งเสริมและฝึกฝนเป็น “ภาษาเป็นเครื่องมือ อย่างหนึ่งของชาติประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหน เราโชคดีที่มีภาษาของตนเอง แต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาไว้การมีภาษาของตนเองใช้ในกิจการของตน ทำให้คน ในชาติสำนึกว่าแต่ละคนเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชาติตน นอกจากนั้นเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้อง มีภาษาที่ใช้สื่อสารกันให้สะดวกทั้งชาติภาษาไทยเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ถ้าขาดไปก็เหมือนกับ การสูญเสียเอกราชเสียความเป็นชาติไป”
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนเรื่อง คำคล้องจอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นั้น เนื่องจาก การอ่านคำคล้องจองทำให้เกิดความสนุกสนาน มีความสุขในการเรียน เพราะคำคล้องจองมีความไพเราะ นักเรียนจะมีความสุขที่ได้ทำเสียง หรือท่าทางให้เข้ากับจังหวะ หรือได้ฟังคำที่เป็นจังหวะ ประโยชน์ที่ได้ จากการอ่านคำคล้องจองเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของนักเรียนช่วยให้นักเรียนจำและใช้ภาษา ได้ดี ใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องชัดเจน ทำให้นักเรียนเข้าใจคำศัพท์ หรือคำที่ครูต้องการเน้นมากขึ้น และเป็นการ ฝึกสมาธิ ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีสติปัญญาสูงขึ้น และเป็นหนทางหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียน อ่านได้และอ่านได้คล่องแคล่ว ผู้วิจัยจึงนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะกระบวนการคิดและแก้ปัญหา มีทักษะในการใช้ภาษาได้ดีขึ้น