วันพุธ, เมษายน 23, 2025
spot_img
หน้าแรกดาวน์โหลดฟรีดาวน์โหลด คู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย โดยโรงเรียนในเครือข่าย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ดาวน์โหลด คู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย โดยโรงเรียนในเครือข่าย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก ครูต้นไผ่ดอทคอม ทุกท่านครับ วันนี้พบกับ ครูต้นไผ่ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ คู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำไปศึกษาและนำไปเป็นแนวทาง ในการเรียนรู้ตามคู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย ให้กับนักเรียน ตามบริบทของห้องเรียน ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์ คู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย ตามรายละเอียดดังนี้ ครับ

ดาวน์โหลด คู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย โดยโรงเรียนในเครือข่าย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


คู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

คู่มือครูและผู้ปกครอง การเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัยนี้เป็นผลงานที่เรียบเรียงจากงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะสมอง-อีเอฟสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ในโรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน (ด้านวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้าง/องค์ความรู้ที่มีศักยภาพ) ประจำปีงบประมาณ 2561 จากสำำนัักงานคณะกรรมการวิจัยแห่่งชาติ(วช.) รวมทั้้งการประมวลองค์ความรู้้เรื่องทักษะสมอง EFจากการได้เข้าร่วมประชุุมเชิงปฏิบัติการในฐานะเครือข่่าย Thailand EF Partnership

โลกในศตวรรษที่ 21 ที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันเป็นโลกที่มีความไม่แน่นอนและมีความซับซ้อนมากเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้โลกทั้งโลกเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วเป็นโลกไร้พรมแดน จึงเป็นทั้งวิกฤติและโอกาสไปพร้อม ๆ กันเด็ก เยาวชนหรือผู้ใหญ่อาจมีชีวิตที่ติดหล่มตกเป็นทาสของสิ่งเร้าทั้งหลายได้ง่าย จากการศึกษาวิจัยที่ก้าวหน้าทันสมัยของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติหลากหลายสาขาในปัจจุบัน ทั้งด้านประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา และด้านการศึกษาพบว่าการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพเพื่อตอบโจทย์โลกยุคใหม่ให้ได้นั้นจำเป็นต้องพัฒนาไปด้วยความเข้าใจต่อธรรมชาติและการทำงานของสมองเป็นสำคัญ

พัฒนาการของสมอง

สมองของมนุษย์มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ส่วนที่หนึ่ง สมองส่วนสัญชาตญาณ
สมองส่วนนี้มีการพัฒนามาตั้งแต่เกิด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองจากอันตรายต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเพื่อทำให้ชีวิตอยู่รอดและมักทำงานร่วมกันกับสมองส่วนอารมณ์กระตุ้นให้มนุษย์เอาตัวรอดจาก“ความรู้สึกไม ่ปลอดภัย” เมื่ออยู่ในภาวะคับขัน ตึงเครียดหวาดกลัว สมองจะตอบสนองโดยใช้สมองส่วนสัญชาตญาณ ที่จะออกมาเพียง 3 แบบ ซึ่งถ้าเกิดขึ้นซ้ำๆ มักส่งผลทางลบกับการพัฒนาตัวตน (self) ของเด็ก

  1. การตอบสนองแบบ “สู้” (fight) เด็กหลายคนจึงพัฒนามาเป็นคนก้าวร้าว รุนแรง ใช้อารมณ์และหลายรายก็กลายร่างมาเป็น “อาชญากร” แม้ในวัยเยาว์
  2. การตอบสนองแบบ “หนี” (flight) เด็กหลายคนจึงหลบเลี่ยงความผิด โกหก และหลีกเลี่ยงการเผชิญสิ่งใหม่ ๆ เพราะไม่อยากผิดพลาด “ฉันทำไม่ได้” “ฉันไม่ได้เรื่อง” ซึ่งต่อมามีผลกับการพัฒนาโรควิตกกังวล ซึมเศร้าในผู้ใหญ่
  3. การตอบสนองแบบ “ยอม” (freeze) เด็กหลายคนเหมือนจะว่าง่าย เพราะทำตามด้วยความกลัวไม้เรียว แต่ลึก ๆ จะพัฒนาความรู้สึก “ฉันสู้เขาไม่ได้” “ฉันมันไม่ดีพอ” พัฒนาความนับถือตัวเองที่ต่ำไปจนถึงวันที่รู้สึกว่า “ฉันไม่เคยมีตัวตน”

ส่วนที่สอง สมองส่วนอารมณ์

ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก การเรียนรู้และจดจำ หากผู้ใหญ่ ทำให้เด็กเกิดอารมณ์ที่ไม่มั่นคงปลอดภัย เด็กจะจำไว้ไม่ลืมฝังลึกลงในความจำระยะยาวแล้วจะนำออกมาใช้ในการตีความหมายในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งนำมาแสดงออกเป็นพฤติกรรมทันทีเพราะสมองส่วนสัญชาตญาณและสมองส่วนอารมณ์ทำงานร่วมกันและไม่ยอมให้สมองส่วน EF ได้ร่วมทำงานด้วย

ส่วนที่สาม สมองส่วนหน้า

เป็นพื้นที่ปฏิบัติงานของ EF ซึ่งจะเจริญเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 25 ปีทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาสามารถทำงานร่วมกับสมองอีกสองส่วนได้ เมื่อสมองส่วนสัญชาตญาณและสมองส่วนอารมณ์ได้รับความมั่นคงปลอดภัย

ตัวอย่างไฟล์เอกสาร


คู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย
คู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

เอกสารเป็นไฟล์ PDF

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารจากลิงก์ด้านล่างนี้ นะครับ

ขอบคุณแหล่งที่มา : โรงเรียนในเครือข่าย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

ข่าวยอดนิยม

ความคิดเห็นล่าสุด