สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก ครูต้นไผ่ดอทคอม ทุกท่านครับ วันนี้พบกับ ครูต้นไผ่ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ คู่มือการดำเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2567 ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำไปศึกษาและนำไปเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติตามคู่มือการดำเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2567 โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่พัสดุ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์ คู่มือการดำเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2567 ตามรายละเอียดดังนี้ ครับ
ดาวน์โหลด คู่มือการดำเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2567 โดยสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คู่มือการดำเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2567
ความเป็นมา
พ.ศ.2495 กระทรวงศึกษาธิการได้ทดลองจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในสังกัด ซึ่งพบว่าโรงเรียนหลายแห่งขาดงบประมาณในการดำเนินงาน จึงทำให้ไม่สามารถจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนที่ขาดแคลนได้อย่างทั่วถึง
ต่อมาในปี พ.ศ.2530 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้กำหนดนโยบายให้โรงเรียนดำเนินการเกี่ยวกับโครงการอาหารกลางวันทุกโรงเรียน ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ภายใต้คำขวัญ “60 พรรษามหาราชา เด็กประถมศึกษาไม่หิวโหย”
ในช่วงปลายปีงบประมาณ 2534 รัฐบาลได้เร่งช่วยเหลือเด็กประถมศึกษา ที่มีภาวะทุพโภชนาการและขาดแคลนอาหารกลางวัน กำหนดให้มีกฎหมายพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2535 โดยจัดตั้งกองทุนเพื่อโครงการ อาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา วงเงิน 6,000 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและ ใช้จ่าย สำหรับการสนับสนุนและช่วยเหลือภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและการประชาสัมพันธ์ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็ก
ในปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหาร ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่โรงเรียนไม่สามารถดำเนินการแต่ลำพังได้ ส่งผลกระทบต่อนักเรียนขาดแคลน อีกจำนวนหนึ่งยังไม่ได้รับประทานอาหารกลางวันคณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 2542 ให้ถือว่าการส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันอิ่มทุกวัน เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยความเห็นชอบร่วมมือกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ
ต่อมา พ.ศ.2544 กระทรวงศึกษาธิการได้ถ่ายโอนงบประมาณค่าอาหารกลางวันไปให้กับกระทรวงมหาดไทยตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค้กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดตั้งและจัดสรรงบประมาณ โดยเริ่มในปีงบประมาณ พ.ศ.2546
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับค่าอาหารกลางวันนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ในอัตรา 21 บาท/คน/วัน
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียนแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 1 – 40 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน ในอัตรา 36 บาท/คน/วัน
โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 41 – 100 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน ในอัตรา 27 บาท/คน/วัน
โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 101 – 120 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน ในอัตรา 24 บาท/คน/วัน
และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 121 คนขึ้นไป ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน ในอัตรา 22 บาท/คน/วัน
วันที่ 26 มีนาคม 2567 พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอขอความเห็นชอบอนุมัติงบประมาณอุดหนุนค่าอาหารกลางวันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ในโรงเรียนขยายโอกาส และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบค่าอาหารกลางวันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ในโรงเรียนขยายโอกาส ในอัตราเดียวกัน
ดังนั้น โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนเป็นโครงการหนึ่งที่มีความสำคัญโดยมีหลายโรงเรียนที่สามารถบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการโดยมีมื้ออาหารกลางวันในโรงเรียนเป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันในบางโรงเรียนมีการทดลองปลูกผัก ปลูกพืชไร่ เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เพาะเห็ดหรือการทำการเกษตรอื่น ๆ เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาสนับสนุนกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ช่วยส่งเสริมให้นักเรียน ซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งไม่เพียงจะส่งผลดีต่อสุขภาพของนักเรียนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการขยายองค์ความรู้ไปสู่ครอบครัวและชุมชนอีกด้วย
ตัวอย่างไฟล์เอกสาร

